ใครพลาดการแสดงความรักในวันแห่งความรักของทางฝรั่งกันไปแล้วบ้าง?? ไม่ต้องเสียใจไป เพราะยังมีวันแห่งความรักอีกวันให้คุณๆได้แสดงความรักต่อกันได้อย่างเต็มที่ แต่ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ความรักหนุ่มสาวเท่านั้น แต่เป็นความรักอันบริสุทธิ์ที่มีแต่ความปรารถนาดีให้แก่กัน วันนั้นก็คือ “วันมาฆบูชา” โดยวันมาฆบูชา 2565 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ซึ่งหลังจากวันวาเลนไทน์เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้นเอง
ทำไมถึงกล่าวว่า มาฆบูชา เป็นวันแห่งความรัก?
เพราะวันมาฆบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศหลักธรรมคำสอน หลักการ อุดมการณ์ ที่แสดงถึงความรักความห่วงใยสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากความทุกข์ และเนื้อหาหลักธรรมนี้ยังเน้นถึงการให้มีความรัก ความเมตตา กรุณาต่อเพื่อนสัตว์โลกด้วยกัน เป็นการแสดงความรักที่ไม่ได้เน้นถึงความรักหนุ่มสาว แต่เป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ และไร้ความเห็นแก่ตัว จึงเรียกได้ว่า วันมาฆบูชา เป็นวันแห่งความรักทางศาสนิกชน
วันมาฆบูชา ขึ้นกี่ค่ำกันแน่นะ?
วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 โดยมาฆบูชา ย่อมาจาก “มาฆบูชาปูรณมี” หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ หากนับตามปฏิทินอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินวันมาฆบูชาจันทรคติของไทย (ส่วนใหญ่ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) แต่ถ้าหากปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน ก็จะเลื่อนไปทำศาสนพิธีมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 แทน
มาฆบูชาอ่านว่าอย่างไรให้ถูกต้อง?
มาฆบูชา ประกอบด้วยคำ มาฆ + ปูชา แต่มาฆบูชาคำอ่านตามภาษาบาลีจะออกเสียง มาฆ ว่า “มา-คะ” ดังนั้น มาฆบูชาจึงอ่านออกเสียงว่า “มา-คะ-บู-ชา”
มาฆบูชาคือวันอะไร?
วันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศหลักธรรมหลังได้ตรัสรู้ ซึ่งทรงแสดงธรรมครั้งแรกในวันมาฆบูชา พระธรรมเทศนาที่ทรงโปรดแสดงเรียกว่า “โอวาทปาติโมกข์” ที่ประกอบด้วยองค์ 4 จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งเนื้อหาของโอวาทปาติโมกข์ หรือเรียกได้ว่าเป็นโอวาท 3 นั้น ได้แก่ การละเว้นความชั่ว การทำความดี และการทำใจให้สะอาดผ่องใส มีเนื้อหาให้ละเว้นจากเบียดเบียนผู้อื่น ทำความดีด้วยการให้ความรักความเมตตาต่อกัน เมื่อทำได้ดังนั้น ก็จะมีใจที่สะอาดบริสุทธิ์ผุดผ่อง และพระพุทธองค์มีจิตเมตตา ปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายให้หลุดพ้นจากความทุกข์ จึงโปรดแสดงธรรมให้สัตว์ทั้งหลายได้รู้แจ้งเห็นจริงตามพระองค์ เป็นการแสดงความรักต่อสรรพสิ่งทั้งหลาย ดังนั้นวันมาฆบูชาจึงเปรียบเสมือนเป็นวันแห่งความรักในทางศาสนาพุทธ
มาฆบูชา โอวาท 3 ประการ ได้แก่อะไรบ้าง?
โอวาทปาติโมกข์ หรือ โอวาทปาฏิโมกข์ สรุปย่อเรียกได้ว่าเป็น โอวาท 3 ประการ ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจแห่งพุทธศาสนา เป็นข้อที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่
- ละเว้นจากความชั่ว คือการละเว้นจากการทำชั่วทั้งปวง ไม่ทรมานหรือฆ่าสัตว์ ไม่ลัก-ขโมย-ปล้น-จี้ทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่คบชู้ ผิดภรรยา-สามีผู้อื่น ไม่พูดปดมดเท็จเพื่อผลประโยชน์ ไม่เสพของมึนเมา ฯลฯ ซึ่งก็เปรียบได้กับการรักษาศีล เป็นข้อละเว้นเพื่อรักษากาย วาจา ใจ ห่างไกลจากความชั่วทั้งปวง
- ทำความดี ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ด้วยการมีเมตตา กรุณา ให้ความรัก แบ่งปันจุนเจือ ให้ความช่วยเหลือแก่สัตว์ทั้งหลาย ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น รวมถึงการซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ซื่อสัตย์ต่อสามี-ภรรยา ซื่อสัตย์ต่อคำพูด หรือที่เรียกว่ารักษาสัจจะ ทำความดีที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อตนเองและผู้อื่น
- ทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ฝึกให้มีสัมมาทิฐิ ด้วยการตั้งมั่นอยู่ในความดี คิดดี พูดดี ทำดี มีสติในการคิด ไม่คิดฟุ้งซ่าน ไม่คิดอิจฉาริษยา ไม่คิดไปในทางที่ชั่ว หากแม้เผลอคิดไปในทางที่ไม่ดี ก็ต้องใช้สติดึงกลับมาให้ทัน เพื่อไม่ให้มีความคิดที่เป็นมิจฉาทิฐิ และเป็นการรักษาใจให้ผ่องใส เบิกบานด้วยความดี
มาฆบูชา จาตุรงคสันนิบาตคืออะไร?
คำว่า จาตุรงคสันนิบาต สามารถแยกส่วนได้ 3 ส่วนด้วยกันคือ จาตุร หมายถึง 4 องค์ แปลว่า ส่วน และ สันนิบาต คือ การประชุม ดังนั้น “จาตุรงคสันนิบาต” จึงแปลว่า การประชุมพร้อมกันแห่งองค์สี่ และจาตุรงคสันนิบาต หมายถึงวันที่มีเหตุการณ์สำคัญ 4 ประการ เกิดขึ้นพร้อมกันในวันมาฆบูชา พระสงฆ์ชุมนุมพร้อมกันที่วัดเวฬุวัน ในวันเพ็ญเดือน 3 โดยมีจำนวน 1,250 รูป โดยที่มิได้นัดหมายกันมาก่อน และพระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็น“เอหิภิกขุอุปสัมปทา” หรือพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6 ที่ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
มาฆบูชาประวัติความเป็นมาอย่างไร?
หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ได้ทรงประกาศธรรมและส่งพระอรหันตสาวกออกจาริก เพื่อเผยแผ่พุทธศาสนาเป็นเวลาผ่านไปแล้ว 9 เดือน จนถึงเพ็ญเดือนมาฆบูชา ดวงจันทร์เต็มดวง หรือวันศิวาราตรี (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นศาสนาเดิมของพระอรหันต์ทั้งหลาย ก่อนที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ โดยทุกวันเพ็ญเดือนมาฆะ เหล่าผู้ศรัทธาลัทธิพราหมณ์จะมีพิธีมาฆบูชาศิวาราตรี เป็นการบูชาพระศิวะ โดยการล้างบาปด้วยน้ำ หรือที่เรียกว่า “ลอยบาป” แต่เมื่อพระอรหันต์เหล่านั้น ได้หันมาศรัทธาและนับถือพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จึงเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ วัดเวฬุวัน แคว้นมคธ โดยที่ไม่ได้มีการนัดหมายแต่อย่างใด ซึ่งมีทั้งหมดด้วยกันถึง 1,250 รูป
วันมาฆบูชา ต้องทําอะไรบ้าง?
กิจกรรมมาฆบูชา การปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ไม่ทำชั่ว ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำใจให้ผ่องแผ้วผ่องใส โดยพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะใส่บาตรตอนเช้า ไปวัดฟังธรรมในวันมาฆบูชา หลักธรรมที่เทศก็ขึ้นอยู่กับแต่ละวัด แต่โดยส่วนมากก็จะเป็นโอวาทปาติโมกข์ และอริยสัจ 4 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวันที่เกิดเหตุการณ์มาฆบูชา และมีการเวียนเทียนเพื่อรำลึกถึงความรักความเมตตาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย และมุ่งสอนให้เรามีความรักความเมตตาต่อกัน เป็นความรักที่บริสุทธิ์ โดยไม่จำกัดรูป เพศ และผู้ใดผู้หนึ่ง
หรือจะเที่ยวถ่ายรูปวัดในกรุงเทพฯ ใกล้แบบ one day trip ก็ดูน่าสนใจไม่น้อย
วันมาฆบูชา ราชการหยุดไหม?
หลายๆคนที่ไม่แน่ใจว่า วันมาฆบูชาธนาคารปิดหรือไม่ มาฆบูชาบริษัทหยุดไหมปีนี้ และราชการหยุดหรือเปล่า… เนื่องจากวันมาฆบูชาวันสำคัญทางพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาหลักของคนไทย และเพื่อให้ศาสนิกชนทั้งหลาย ได้ไปสร้างกุศลผลบุญ และรำลึกถึงพระศาสดาของศาสนาประจำชาติไทย จึงได้มีประกาศให้วันมาฆบูชาเป็นวันหยุดทางราชการ และมีหลายๆบริษัทก็หยุดด้วยเช่นกัน แต่ก็ยังมีอีกหลายกิจการที่อาจไม่สามารถหยุดในวันมาฆบูชา ดังนั้นผู้ที่ทำงานในระบบองค์กร และสำนักงานเอกชน จะต้องทำการสอบถามกับทางที่ทำงานให้แน่ชัด จะได้ไม่เกิดความเข้าใจผิด จนเกิดปัญหาตามมาภายหลังได้
ปีนี้มาฆบูชากับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้กิจกรรมหลายๆอย่างต้องงดและปรับเปลี่ยน เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ ในการรักษาความปลอดภัยของทุกคน แต่ถึงแม้อาจจะไม่ได้ไปวัด งดเวียนเทียนมาฆบูชา ไม่ได้ถวายชุดสังฆทานมาฆบูชา แต่ก็สามารถแสดงความกตัญญูต่อความรักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ โดยการยึดถือปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนโอวาทปาติโมกข์ หรือโอวาท 3 ประการ ด้วยการ “ละเว้นจากความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำใจให้ผ่องใสบริสุทธิ์” เพียงเท่านี้ก็เป็นการแสดงที่ถึงพร้อมแห่งความรักในฐานะพุทธศาสนิกชนที่ดีแล้ว