รู้จักประเภทโรคหัวใจและหลอดเลือด รับวันหัวใจโลก

Elderly senior male patients have chest pain and heart disease, Grey haired man touching chest, having heart attack

World Heart Day หรือ วันหัวใจโลก ตรงกับ วันที่ 29 กันยายน ของทุกปี โดยมีถุกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ สาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนทั่วโลก โดยกว่า 80% ของการเสียชีวิต หรือมากกว่า 20 ล้านคนทั่วโลกที่เสียชีวิต จากโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละ 7 หมื่นราย เฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน เลยทีเดียว วันนี้แอดมินจะมาชวนทำความรู้จักโรคหัวใจ สาเหตุ อาการ การป้องกัน รับวันหัวใจโลก เพื่อจะได้เข้าใจ สามารถรู้ทันในการป้องกันและรับมือในโรคดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ช่วยป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

top view world heart day concept with stethoscope

ประเภทของโรคหัวใจ เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร 

โรคหัวใจแบ่งย่อยได้หลายกลุ่มโรค สามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้ดังนี้ 

  1. กลุ่มที่มีความผิดปกติทางโครงสร้างหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นต้น 
  2. กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน 
  3. กลุ่มที่มีการนำไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ เช่น โรคหัวใจเต้นพลิ้ว เป็นต้น 

pain and heartburn old senior asian grandfather in patient unifo

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเกิดจากทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยมักจะพบความผิดปกติได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ด้วยการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) ซึ่งมีความผิดปกติที่เกิดจากการเติบโตของหัวใจขณะอยู่ในครรภ์มารดาตั้งแต่ในช่วง 3 เดือนแรก เมื่อหาสาเหตุโรคหัวใจเกิดจากอะไรนั้น จะพบได้หลายปัจจัย แต่ส่วนใหญ่เป็นเพราะที่ผนังกั้นภายในห้องหัวใจมีรูรั่ว หรือห้องหัวใจตีบตัน เป็นต้น 

โรคหัวใจอาการเริ่มต้นในเด็กเล็กที่สังเกตได้ชัดเจน คือ มีเหงื่อออกมากบริเวณศีรษะทั้งที่อากาศไม่ร้อน ตัวเล็ก น้ำหนักขึ้นยาก ดูดนมนานกว่าปกติ ส่วนอาการในเด็กโตจะคล้ายกับผู้ใหญ่ เช่น หายใจหอบ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ต้องนอนศีรษะสูง เจ็บหน้าอก ใจสั่น หน้ามืด จะเป็นลม ลิ้นหรือเยื่อบุบริเวณริมฝีปากเขียว เป็นต้น 

Young man has heart attack isolated on white background.

โรคหัวใจล้มเหลว / โรคหัวใจอ่อนกำลัง (Heart Failure) 

โรคหัวใจล้มเหลว มีทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง โดยโรคหัวใจล้มเหลวแบบเฉียบพลัน เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ รุนแรง หรือมีเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน ส่วนหัวใจล้มเหลวชนิดเรื้อรัง เกิดจากเส้นเลือดหัวใจตีบเรื้อรัง เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ที่ไม่ได้รับการรักษา หรือไ้ดรับยาเคมีบำบัดบางชนิด รวมถึงการได้รับยาและสารเสพติดบางชนิด เช่น การได้รับสารนิโคติน การดื่มสุราในปริมาณมาก เป็นต้น โดยอาการโรคหัวใจล้มเหลว คือ เหนื่อยง่าย นอนราบไม่ได้ ขาบวม ตื่นตอนกลางคืนแบบเหนื่อยหอบ อาจมีน้ำท่วมปอดและหัวใจโตร่วมด้วย 

view 3d anatomical human heart

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สาเหตุเกิดจากที่ผนังหลอดเลือดหัวใจเสื่อม หรือมีการสะสมของไขมันและเนื้อเยื่อจนทำให้หลอดเลือดหนาตัวขึ้นและอุดตัน จนทำให้การไหลเวียนเลือดไปสู่หัวใจและกล้ามเนื้อหัวในได้น้อยลงหรือไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมาก มีภาวะไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่จัด ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น ส่วนอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คือ เจ็บหน้าอก จุก แน่น มีเหงื่อออก ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม รู้สึกเสียดหรือแสบร้อนในบริเวณทรวงอก อาจมีอาการรุนแรง และเฉียบพลัน จนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย นำไปสู่หัวใจวายได้ 

Medical concept with doctor, stethoscope and heart

โรคลิ้นหัวใจตีบและรั่ว 

สาเหตุของโรคหัวใจตีบและรั่ว เกิดจากหลายปัจจัย ตั้งแต่ ลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ มีภาวะโรคหัวใจอักเสบรูห์มาติค หรือมีหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจ จนทำให้ลิ้นหัวใจตีบและรั่ว เป็นต้น ส่วนอาการของโรคลิ้นหัวใจตีบและรั่ว คือ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ นอนราบไม่ได้ ต้องนอนศีรษะสูง ท้องอืดบวม ขาบวมทั้ง 2 ข้าง บางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอกเวลาออกแรง รู้สึกหน้ามืด วูบ เนื่องจากลิ้นหัวใจตึบ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้เต็มที่ 

asian female suffering from chest pain having heart attack

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากการกำเนิดกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติตรงบางตำแหน่งในหัวใจ ที่อาจมีสาเหตุมาจากความเสื่อมสภาพของร่างกาย อันเนื่องมาจากความชราวัย ทำให้หัวใจเต้นช้าลง หรือ อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ และโรคประจำตัวบางชนิด เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง เส้นเลือดหัวใจตีบ หรือต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หรือผลข้างเคียงจากการใช้บางชนิด เช่น ยาขยายหลอดลม ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ เป็นต้น ผู้ป่วยโรคหัวเต้นผิดจังหวะ อาการจะมีอัตราการเต้นของหัวใจช้าผิดปกติ ต่ำกว่า 60 ครั้ง / นาที ความดันโลหิตต่ำ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ใจหวิว วูบ อาจเป็นลม หมดสติ หรือมีอาการใจสั่นรุนแรง และรู้สึกเหนื่อยมาก 

Don't worry, we'll try to help you!

หัวใจรูห์มาติก 

ภาวะหัวใจรูห์มาติก มักพบในเด็กอายุ 7 – 15 ปี โดยสาเหตุของหัวใจรูห์มาติกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเบตาฮีโมไลติก สเตร็ปโตคอคคัสที่ลำคอ ก่อให้เกิดอาการปวดข้อ คออักเสบ มีไข้สูง ผื่นขึ้นตามลำตัว สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อซ้ำหลายครั้ง อาจทำให้เกิดอาการอักเสบที่หัวใจ และมีพังผืดขึ้นบริเวณลิ้นหัวใจ  จนไม่สามารถเปิดได้เต็มที่หรืออาจปิดไม่สนิท ส่งผลให้ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบและแคบลง ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนหัวใจวาย และเสียชีวิตได้ 

male student practicing medicine

วิธีการป้องกันโรคหัวใจ

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากการนั่งเล่นมือถือ ดูทีวีนาน ๆ ไปออกกำลังกาย เดินเล่น วิ่ง เต้นแอโรบิก แกว่งแขน อย่างน้อย 30 นาที เป็นประจำ หรือ 5 วัน / สัปดาห์ เป็นต้น 
  • ควบคุมน้ำหนัก โดยผู้ชายเอเชีย รอบเอวไม่ควรเกิน 90 เซ็นติเมตร ส่วนผู้หญิงเอเชีย ไม่ควรเกิน 80 เซ็นติเมตร และคิดรักษาค่า BMI ให้อยู่ในระดับปกติเสมอ (18.5 – 24.9) 
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อกำจัดโอกาสที่จะก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อหัวใจ อย่าง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะต้องควบคุมให้อยู่ในระดับปกติ 
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อหัวใจ คือ อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean diet) เป็นอาหารที่เน้นการทานพืช ธัญพืช ถั่ว ผัก ผลไม้ และเนื้อปลา โดยเลือกทานแต่ไขมันดี ลดการบริโภคเนื้อแดง 
  • กำจัดความเครียด และพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่