5 เทคนิคบริหารเงินโบนัสอย่างไรให้คุ้มค่า ให้สมกับการแลกมาด้วยความเหนื่อยล้ามาตลอดทั้งปี

5 เทคนิคบริหารเงินโบนัสอย่างไรให้คุ้มค่า

ทำงานหนักมาทั้งปี กว่าจะได้โบนัสแต่ละที ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ดังนั้นเมื่อได้โบนัส ที่เป็นรางวัลประโลมใจคนทำงานทุกคน ต้องมีการบริหารให้ดี ให้คุ้มกับความเหนื่อยล้าที่ฝ่าฝันมาตลอดปี แต่จะบริหารโบนัสอย่างไรดี ให้คุ้มค่ากับการแลกมาด้วยหยาดเหงื่อ น้ำตา และความเหนื่อยล้าจากการทำงานมาตลอดปี เรามีมาแนะนำค่ะ

5 เทคนิคบริหารเงินโบนัสอย่างไรให้คุ้มค่า

1. Pay ให้ตัวเอง 

Pay ให้ตัวเอง

แน่นอนทำงานมาเหนื่อยทั้งปี ก็ต้องมีสิ่งดี ๆ เป็นของรางวัลให้ชีวิตกันบ้าง เป็นการขอบคุณตัวเองที่อดทนและฟันฝ่าต่อการทำงานกว่า 200000 วินาที 300000 นาที 6000 ชั่วโมง 325 วัน 12 เดือน เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจให้ตัวเอง โดยการแบ่งสัก 10-20% ของเงินโบนัส เพื่อเปย์ในสิ่งที่ต้องการ หรืออยากได้มานานแต่ต้องตัดใจเพราะความจำเป็นอย่างอื่นที่มากกว่า เช่น การท่องเที่ยว คอร์สสปาครบชุด อาหารหรูสักมื้อ รองเท้าคู่ใหม่ หรือพาครอบครัวไปฉลองเพื่อเป็นสร้างความสุขร่วมกัน

การทำแบบนี้ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ทดแทนจากเวลาที่ห่างกันในช่วงทำงาน เป็นต้น เพื่อเติมกำลังใจให้ตัวเองสู้งานต่อ แต่จะต้องมีลิมิตและวงเงินที่จำกัดอย่างชัดเจน ไม่ควรเปย์มากเกินไป เพราะถึงแม้จะมีผลดีต่อจิตใจ แต่อาจไม่ดีต่อความมั่นคงในชีวิต หากจ่ายเกินวงเงินที่กำหนดไว้ การเปย์แบบนี้มีแต่เงินออก ไม่มีเงินงอกกลับคืนมา อาจทำให้เงินโบนัสหมดในพริบตา! 

2. ลดหนี้ที่มี 

ลดหนี้ที่มี

เมื่อได้เงินโบนัสแล้ว อย่าเพิ่งรีบนำไปใช้ แต่ให้ลองเช็กว่ามีหนี้อะไรอยู่บ้าง และดูว่าเช็คตัวไหนที่ลดต้นลดดอกได้บ้าง และยอดหนี้ทั้งหมดมีอยู่เท่าไร แบ่งเงิน 50-70% ของเงินโบนัส ไปเร่งปิดหนี้ตัวไหนที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า 10% / ปี หรือหนี้ที่มียอดเหลือน้อยที่สุด หรือหนี้ที่สามารถปิดได้เลย เพื่อจะได้เหลือหนี้ที่ต้องชำระน้อยลง และสามารถเก็บเงินได้เพิ่มขึ้นในอนาคต 

3.เก็บไว้เป็นเงินสำรอง 

เก็บไว้เป็นเงินสำรอง

การมีเงินสำรอง ย่อมสร้างความอุ่นใจได้มากยิ่งขึ้น หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายโดยไม่คาดคิด ทำให้สามารถโฟกัสกับการทำงานได้มากกว่าการไม่เงินทุนสำรองเลย และเมื่อได้โบนัสมาแล้วแบ่งเก็บไว้กับเงินสำรอง ทำให้ยอดเงินเพิ่มขึ้น อาจนำไปลงทุนเพื่อเป็นการต่อยอดสำหรับเพิ่มรายได้หลาย ๆ ช่องทาง เช่น ซื้อพันธบัตร กองทุน หุ้น หรือกองทุน SSF / RMF เป็นต้น เป็นการช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับชีวิตมากขึ้น เมื่อรู้สึกอุ่นใจและสบาย จะทำให้มีกำลังใจที่ดีต่อการทำงาน และมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อให้ได้เงินมาเพิ่มเงินสำรอง หรือเพิ่มในการลงทุนดังกล่าวต่อไป (มีคนเคยกล่าวไว้ว่า การไม่มีเงินเก็บ ไม่มีเงินสำรองใช้จ่าย ไม่มีการลงทุนใด ๆ ทำให้ไม่มีแรงบันดาลใจที่จะทำงานให้มากขึ้น เพราะไม่มีแรงจูงใจจากการพยายามเพิ่มตัวเลขของเงินที่มีให้มากขึ้นนั่นเอง) 

ซึ่งเงินสำรองที่ดี ควรมีเพียงพอต่อการใช้จ่าย 5-6 เดือน โดยควรเลือกช่องทางการเก็บเงินเพื่อการสะสที่สามารถถอนหรือนำออกมาใช้ได้ตลอดเวลา เช่น การถอนจากตู้ ATM ได้ทุกเครือข่าย ระบบการฝากเงินผ่านมือถือ ซึ่งการเก็บเงินที่ตอบโจทย์คนปัจจุบันส่วนใหญ่คือ เงินฝาก e-Saving ซึ่งมีบริการแทบทุกธนาคาร และมักจะให้ดอกเบี้ยสูงถึง 1-1.5% / ปี แต่มีความเสี่ยงต่ำ และสะดวกต่อการโอนและถอน 

4. การลงทุน

การลงทุน

“การลงทุน” มักจะมี “ความเสี่ยง” แฝงมาด้วยเสมอ แต่เนื่องจากเงินโบนัสเป็นเงินก้อนที่จะได้ปีละครั้ง ไม่เกี่ยวกับเงินที่ได้ประจำอย่างเงินเดือน และไม่มีส่วนของเงินที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จึงเป็นส่วนเงินที่สามารถจะพร้อมรับความเสี่ยงได้มากกว่าเงินเก็บปกติทั่วไป โดยการแบ่งเงินสัก 10-20% ของเงินโบนัส ไปซื้อกองทุนผสม กองทุนหุ้น SSF/RMF เพื่อเพิ่มช่องทางการงอกเงยยอดเงินให้มากขึ้น

5. สร้าง Passive Income 

สร้าง Passive Income 

หาแหล่งรายได้ที่ไม่ต้องออกแรง แต่ให้ผลตอบแทนกลับมาอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจเริ่มจากทีละน้อย และสะสมจนมากพอกับการจ่าย เช่น ซื้อธนบัตร / หุ้นกู้ หรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อปล่อยเช่า หรือการฝากเงินแบบสะสมรายปี / ถาวร โดยไม่มีการถอนออกก่อนกำหนด เพื่อเพิ่มดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ รวมไปถึงการซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นต้น 

สรุป

ทำงานเหนื่อยกันมาตลอดปี นอกจากจะต้องตอบแทนตัวเองเพื่อให้กำลังใจต่อสู้ต่อไป ก็ต้องหาช่องทางในการนำเงินต่อเงิน เพื่อหลักประกันชีวิตของตนในอนาคต เพราะเมื่อถึงเวลาที่ไร้แรงกำลังในการทำงาน ชีวิตก็ไม่ลำบาก เพราะมีโบนัสชีวิตที่สะสมมาจากการใช้แรงกายแรงใจมาตลอดหลายปีในช่วงที่ยังมีแรง