หุ้นกู้มีกี่ประเภท 

Coin on wooden table in front of green bokeh background.

หุ้นกู้มีหลายประเภทด้วยกัน โดยแต่ละประเภทก็จะมีเงื่อนไข ข้อตกลง และความเสี่ยงที่เป็นลักษณะเฉพาะ แตกต่างกันไปตามประเภทหุ้นกู้นั้น ๆ แล้วหุ้นกู้มีประเภทอะไรบ้าง สิทธิและความเสี่ยงต่างกันอย่างไร เป็นอีกสิ่งสำคัญที่นักลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เพราะความสามารถในการรองรับความเสี่ยงของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน จึงควรหาข้อมูล ศึกษารายละเอียด และพิจารณาว่าหุ้นกู้ชนิดใดเหมาะสมกับการลงทุนของเรามากที่สุด ช่วยลดความเสี่ยง และรักษาผลประโยชน์ของการลงทุนของเราให้ได้มากที่สุด 

ประเภทของหุ้นกู้

  1. หุ้นกู้ด้อยสิทธิ 

หุ้นกู้ด้อยสิทธิ คือ หุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการรเรียกร้องสินทรัพย์ในอันดับที่ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญรายอื่น ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้ล้มละลาย 

 

  1. หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ 

หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ คือ หุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการเรียกร้องสินทรัพย์จากผู้ออกตราสารหนี้ ทัดเทียมกับเจ้าหนี้สามัญรายอื่น ๆ และสูงกว่าผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หากเกิดกรณีที่หุ้นกู้ของผู้ออกตราสารหนี้ล้มละลาย 

 

  1. หุ้นกู้แปลงสภาพ 

หุ้นกู้แปลงสภาพ คือ หุ้นกู้ที่นักลงทุนสามารถกลายจากเจ้าหนี้เป็นเจ้าของได้ เป็นการเปลี่ยนหุ้นกู้ให้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกหุ้นได้ตามราคาที่กำหนด โดยบริษัทผู้ออกหุ้นกู้จะออกหุ้นสามัญในจำนวนที่มีมูลค่าเท่ากับตราสารหนี้ที่ถืออยู่ 

 

  1. หุ้นกู้แบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน 

หุ้นกู้แบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน คือ หุ้นกู้ที่ผู้ออกตราสารหนี้ มีการนำสินทรัพย์มาค้ำประกันการออกหุ้นกู้ โดยผู้ถือหุ้นจะมีสิทธิในสินทรัพย์ค้ำประกันนั้นเหนือเจ้าหนี้สามัญรายอื่น ๆ 

 

  1. หุ้นกู้แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน 

หุ้นกู้แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน คือ หุ้นกู้ที่ไม่มีการนำสินทรัพย์ใด ๆ มาวางค้ำประกันในการออกหุ้นกู้ และหากผู้ออกหุ้นกู้ล้มละลาย ต้องทำการแบ่งสินทรัพย์กับเจ้าหนี้รายอื่นตามสิทธและสัดส่วนที่ถือตามรายบุคคล

Businessman working with digital finance business graph of perceptive technology

อย่าลืมว่า ทุกธุรกิจที่มีการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง แต่ใครจะสามารถรองรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการศึกษาหาข้อมูล การติดตามผล และเลือกประเภทการลงทุนและบริหารการเงินให้เหมาะกับสไตล์และความสามารถของตนเอง จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีความแน่นอนในวงการธุรกิจ มีความผันผวนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้ว่าจะศึกษาข้อมูลมาดีแค่ไหน หรือวางแผนการลงทุนดีอย่างไร ก็สามารถเกิดความผิดพลาดและการเสียผลประโยชน์ได้เสมอ ดังนั้น จึงไม่ควรประมาทในการติดตามผลอยู่เสมอ เพื่อจะได้หาวิธีในการรองรับเพื่อกระจายความเสี่ยง จะได้ไม่เจ็บหนักจนกระอักเลือด เมื่อทุกอย่างเกิดพลิกผันกระทันหัน ไม่เป็นไปตามแผนที่คาดไว้ค่ะ