การครอบแก้วช่วยอะไร ทำไมจึงได้รับความนิยมในการรักษาทางเลือก 

close up hand holding cup

หากพูดถึงการรักษาโรคต่าง ๆ ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน จะมีศาสตร์การฝังเข็มรักษาโรค ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่เรามักจะนึกถึงและเคยเห็นกันมาบ้าง แต่ยังมีอีกศาสตร์ทางการแพทย์แผนจีนอีกวิธีหนึ่ง คือ การครอบแก้ว หรือ การครอบกระปุก เพื่อกระตุ้นระบบการไหลเวียนของเลือด เพื่อช่วยในการบรรเทาอาการและรักษาความเจ็บป่วย 

 

การครอบแก้วคืออะไร 

การครอบแก้ว หรือ Cupping Therapy คือ การใช้กระปุกสุญญากาศครอบไปบนบริเวณผิวหนัง โดยมีการใช้ไฟลนภายในกระปุกนั้นก่อนที่จะนำไปครอบ หรือใช้อุปกรณ์ดูดอากาศในกระปุกที่ครอบลงไปแล้ว ทำให้เลือดคั่งขึ้นในบริเวณนั้น จนเห็นเป็นสีแดงคล้ำและเป็นรอยจ้ำตามรูปปากกระปุกที่ครอบบนผิว อุปกรณ์สุญญากาศจะติดแน่นกับบริเวณผิวและดึงกล้ามเนื้อ เส้นประสาท เส้นเลือด บริเวณที่ถูกครอบ ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ฮอร์โมน และระบบการไหลเวียนของเลือดดี 

cupping therapy hijama 2021 08 30 05 09 47 utc

การครอบแก้วช่วยอะไร

การครอบแก้วช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณนั้นให้ดีขึ้น กระตุ้นในการเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ทั้งในส่วนของการกระตุ้นกลไกการอักเสบของร่างกาย และระบบการไหลเวียนของน้ำเหลือง นอกจากนี้การครอบแก้วยังกระตุ้นปลายประสาทและการหลั่งสารสื่อประสาท ทำให้อาการเจ็บปวดบรรเทาและลดลง จึงนิยมนำการครอบแก้วใช้ในการช่วยบรรเทาและรักษาอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อต่าง ๆ เช่น 

 

การปวดคอ การปวดไหล่ ปวดเอว สะโพก ปวดหลัง โรคออฟฟิศซินโดรม หรืออาการปวดหลังเส้นประสาทจากโรคงูสวัด หอบ หืด ไอ ไข้หวัด ลมพิษ เป็นต้น 

 

ปัจจุบันได้มีการนำการครอบแก้วมาใช้ในด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น การรักษาฝ้า การรักษาสิว อัมพาตใบหน้า (Bell’s palsy) อ่อนเพลีย ซีมเศร้า อีกทั้งยังเชื่อกันว่าการครอบแก้วจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อทุกระดับ ยิ่งไปกว่านั้น ได้มีการนำการครอบแก้วมาใช้ในการช่วย ลดหน้าท้อง ลดต้นขา เพื่อความสวยงามของร่างกาย แถมยังใช้ในการให้รู้สึกผ่อนคลายคล้ายกับทำสปาอีกด้วย 

 

การครอบแก้วเหมาะกับโรคอะไรบ้าง 

  • โรคระบบทางเดินหายใจ : โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง หอบหืด ภูมิแพ้ ลมชัก ปวดอักเสบ ปอดบวม เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
  • โรคระบบทางเดินอาหาร : กระเพาะอักเสบเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง อาหารไม่ย่อย มีกรดเกินในกระเพาะอาหาร 
  • โรคระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย : ปวดข้อไหล่ สะบักจม ปวดกระดูกคอ ปวดตามข้อต่าง ๆ ออฟฟิศซินโดรม ปวดข้อเท้า ปวดเท้า และตามรอบข้อต่าง ๆ 
  • โรคระบบประสาท : ปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดเส้นประสาท กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ หดเกร็ง เส้นประสาทบนใบหน้าหดเกร็ง 
  • โรคระบบการหมุนเวียนของเลือด : ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด 
  • โรคสตรี : ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว ปวดอุ้งเชิงกราน 
  • โรคอายุรกรรมภายนอก : มีก้อนซีสอักเสบ ฝีหนอง  

high angle suction cup process

สีจากการครอบแก้วสามารถบอกอะไรได้บ้าง 

หลังจากทำการครอบแก้วเสร็จสิ้น จะเกิดรอยจ้ำ และมีสีม่วง ๆ ออกคล้ำ ๆ ตรงบริเวณผิวหนังที่ถูกกระปุกครอบ โดยความเข้มของรอยจ้ำเหล่านี้เอง ที่จะช่วยบ่งบอกถึงลักษณะอาการปวดบริเวณนั้นได้ หากมีสีเข้มมากเท่าไร หมายถึงบริเวณนั้นมีความเจ็บปวดมากเป็นพิเศษ และอาการหลังครอบแก้วที่เป็นรอยจ้ำและสีช้ำ ๆ เหล่านั้นจะค่อย ๆ จางหายไปเองประมาณ 1-2 สัปดาห์ 

 

  • สีแดงหรือชมพูเข้ม : สุขภาพแข็งแรง ระบบเลือดไหลเวียนปกติ 
  • สีม่วงอ่อน : ร่างกายมีความร้อนเล็กน้อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนล้าปานกลาง
  • สีม่วงเข้ม : ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เลือดลมไหลเวียนติดขัด 
  • สีม่วงกระจายและมีรอยด่าง : มีความเย็นสะสม การไหลเวียนของลมปราณและเลือดติดขัด มีเลือดคั่ง 

cupping therapy traditional chinese medicine 2021 08 30 05 09 46 utc

ข้อควรระวังในการครอบแก้ว 

ไม่ควรทำการครอบแก้วด้วยตัวเอง แต่จะต้องทำโดยผู้ชำนาญการและทำด้วยอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นหัตถการที่ปลอดภัยและมีผลข้างเคียงต่ำ เพราะเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่สะอาด ไม่มีคุณภาพ และทำโดยผู้ไม่มีความรู้โดยเฉพาะ เสี่ยงต่อการติดเชื้อและเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ 

 

นอกจากนี้ การครอบแก้วมีข้อห้ามบางประการกับบางบุคคล เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม กระดูกหัก ภาวะเส้นเลือดดำอุดตัน มีบาดแผล และ ผู้ที่ตั้งครรภ์ ไม่ควรทำการครอบแก้ว หรือปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษา อีกทั้งต้องใช้เวลาที่เหมาะสม หากใช้เวลานานเกินไปในการครอบแก้ว อันตรายอาจเกิดตามมาได้เช่นกัน